7.2 เขตของบริวารดวงอาทิตย์

ระบบสุริยะและดาวบริวาร

ระบบสุริยะ
ระบบสุริยะเป็นกลุ่มของดวงดาวซึ่งประกอบไปด้วยดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์และวัตถุบนท้องฟ้าต่าง ๆ ดาวฤกษ์มีเพียงดวงเดียว คือ ดวงอาทิยต์ ดาวเคราะห์ มี 9 ดวง ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน ดาวพลูโต ส่วนวัตถุท้องผ้าที่มีหลายชนิด เช่น อุกกาบาต ดาวหาง ดาวเคราะห์น้อย ดวงจันทร์ เป็นต้น
ดวงอาทิตย์ เป็นดาวฤกษ์เพียงดวงเดียวในระบบสุริยะซึ่งมีขนาดและความสว่างอยู่ในระดับกลาง ๆ เมื่อเทียบกับดาวฤกษ์ดวงอื่น ๆ ดวงอาทิตย์มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1,392,000 กิโลเมตร หมุนรอบตัวเอง 1 รอบใช้เวลา  25-35 วัน มีอุณหภูมิพื้นผิวประมาณ 6,000 องศาเซลเซียล

ดวงอาทิตย์สำคัญไฉน
1. ให้ความร้อน
2. ให้แสงสว่าง
3. ให้พลังงาน

ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ

ดาวพุธ เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดไม่มีดวงจันทร์เป็นบริวาร มีอุณหภูมิสูงประมาณ  400 องศาเซลเซียส ดาวพุธหมุนรอบตัวเอง 1 รอบใช้เวลา 59 วัน โคจรรอบดวงอาทิตย์ 88 วัน เราสามารถมองเห็นดาวพุธด้วยตาเปล่าในตอนเช้าก่อนดวงอาทิตย์ขึ้นและตกครึ่งชั่วโมง

ดาวศุกร์ เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 2 ระบบสุริยะ ดาวศุกร์มีขนาดใกล้เคียงกับโลกจึงได้ชื่อว่าเป็นดาวฝาแฝดของโลก ดาวศุกร์ไม่มีดวงจันทร์เป็นบริวาร ดาวศุกร์มีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์เล็กกว่าโลก เราเห็นดาวศุกร์ปรากฏได้สองฟากฟ้า เมื่อเห็นดาวศุกร์ปรากฎในท้องฟ้าด้านตะวันออกตอนเช้ามืดเรียกว่า “ดาวรุ่ง” หรือ “ดาวประกายพรึก” แต่เมื่อปรากฎทางด้านตะวันตกตอนหัวค่ำ เรียกว่า “ดาวประจำเมือง”

โลก

เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่สาม โดยโลกเป็นดาวเคราะห์หินขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ และเป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวที่วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ยืนยันได้ว่ามีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ ดาวเคราะห์โลกถือกำเนิดขึ้นเมื่อประมาณ 4,570 ล้าน (4.57×109) ปีก่อน และหลังจากนั้นไม่นานนัก ดวงจันทร์ซึ่งเป็นดาวบริวารเพียงดวงเดียวของโลกก็ถือกำเนิดตามมา

ดาวอังคาร  เป็นดาวสีแดง ชาวโรมันขนานนามว่า เทพเจ้าแห่งสงคราม พื้นผิวเต็มไปด้วยอุกกาบาต ดาวอังคารเป็นดาวแห่งพายุฝุ่น อุณหภูมิและกระแสลมที่แปรเปลี่ยนไป ทำให้เกิดพายุฝุ่นตลอดทั้งปีมีดวงจันทร์เป็นบริวาร 2 ดวง ชื่อ โฟบอส และไดมอส ซึ่งดวงจันทร์ทั้ง 2 ดวงนี้ถูกค้นพบโดยนักดาราศาสตร์ชื่อ เอแสฟ ฮออล ในปี พ.ศ. 2420

ดาวพฤหัสบดี

เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 5 และเป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ ดาวพฤหัสบดีมีมวลสูงกว่ามวลของดาวเคราะห์อื่นรวมกันราว 2.5 เท่า ทำให้ศูนย์ระบบมวลระหว่าง ดาวพฤหัสบดีกับดวงอาทิตย์ อยู่เหนือผิวดวงอาทิตย์ (1.068 เท่าของรัศมีดวงอาทิตย์ เมื่อวัดจากศูนย์กลางดวงอาทิตย์) ดาวพฤหัสบดีหนักว่าโลก 318 เท่า เส้นผ่านศูนย์กลางยาวกว่าโลก 11 เท่า และมีปริมาตรคิดเป็น 1,300 เท่าของโลก เชื่อกันว่าหากดาวพฤหัสบดีมีมวลมากกว่านี้สัก 60-70 เท่า อาจเพียงพอที่จะให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์จนกลายเป็นดาวฤกษ์ได้

ดาวเสาร์  เป็นดาวเคราะห์ที่เราสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเป็นสีเหลืองอ่อน จากภาพถ่ายของยานวอยเอเจอร์ 1 และ 2 พบว่าดาวเสาร์ มีวงแหวน 7 ชั้นใหญ่ ๆ และมีวงแหวนเล็กซ้อนกันอยู่หลายพันวง ซึ่งประกอบด้วยอนุภาคน้ำแข็งและก้อนหินที่ปกคลุมด้วยน้ำแข็ง ดาวเสาร์มีดวงจันทร์บริวาร 18 ดวง ดวงที่ใหญ่ที่สุดมีชื่อว่า ไททัน

ดาวยูเรนัส  มีลักษณะแปลกกว่าดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ คือ ขณะที่ดาวเคราะห์อื่นมีแกนเอียงออกกับแนวตั้งฉาก จากระนาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์เพียงเล็กน้อย แต่ดาวยูเรนัสหันขั้วเหนือออกจากแนวดิ่งถึง 98 องศา เมื่อมองจากโลกจึงดูคล้ายกับดาวยูเรนัส หมุนรอบตัวเองกลับทิศกับดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ ดาวยูเรนัสถูกค้นพบเมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2324 โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ชื่อ วิลเลียม เฮอร์เชลและมีดวงจันทร์เป็นบริวาร 21 ดวง

ดาวเนปจูน  เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็ลำดับที่ 8 ลักษณะเป็นดาวเคราะห์ก๊าซที่มีลักษณะคล้ายกับดาวยูเรนัส ดาวเนปจูนถูกค้นพบเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2389 โดยนักดาราศาสตร์ชาวเยอรมัน ชื่อ โจฮันน์ จี. กาลเล ดาวเนปจูน มีดวงจันทร์เป็นบริวารที่ถูกค้นพบแล้ว 8 ดวง

ดาวพลูโต  อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 9 แต่เนื่องจากวงโคจรของดาวพลูโตเป็นวงรีมาก และเอียงจากสุริยวิถีมากจึงมีบางช่วงที่ดาวพลูโตอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าดาวเนปจูน ดาวพลูโต ถูกค้นพบเมื่อปี พ.ศ.2473 โดยไคล์ด ทอมบอห์ ดาวพลูโตมีดวงจันทร์เป็นบริวาร 1 ดวง ชื่อ คารอน

ดาวหาง  เป็นวัตถุที่เหลือจากการก่อตัวของดาวเคราะหืน้อยในระบบสุริยะและเป็นบริวารของดวงอาทิตย์ เพราะโคจรรอบดวงอาทิตย์เช่นเดียวกับ ดาวเคราะห์ ขณะที่ดวงหางอยู่ไกลดวงอาทิตย์จะคล้ายก้อนน้ำแข็งสกปรก แต่เมื่อดาวหางโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ในระยะวงโคจรของดาวพฤหัสบดีดาวหางเริ่มอุ่นขึ้น น้ำแข็งรอบนอกจะระเหิดกลายเป็นก๊าซและฝุ่นเกิดกลุ่มเมฆก๊าซเป็นบรรยากาศห่อหุ้มขนาดใหญ่มาก ยิ่งโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ ลมสุริยะรังสีจากดวงอาทิตย์ยิ่งทำให้หางของดาวหางพัดกระพืดออกเป็นลำยาวขึ้น

ปกติดาวหางที่สว่างมากจะมี 2 หาง หางแรกเป็นหางตรงสีน้ำเงินเรียกว่า หางก๊าซ (Gas tail) ลมสุริยะพัดไปในทิศทางตรงกันข้ามกับดวงอาทิตย์ อีกหางหนึ่งสีเหลืองขาวเรียกว่าหางฝุ่น (Dust tail) เป็นห่างโค้งออกจากทางโคจรของดาวหาง ดาวหางบางดวงมีหางมากกว่า 2 หาง เช่น ดาวหาง เดอ เซซีออกซ์ มีหาง 7 หาง แผ่กระจายคล้ายหางนกยูง ดาวหางที่ควรรู้จักเช่นดาวหางฮัลเล่ย์ซึ่ง 75 ปีจะโคจรมาใกล้โลกครั้งหนึ่ง ดาวหางเองเก ซึ่งเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ในเวลา 3.3 ปี ทั้งนี้เพราะเคลื่อนที่เป็นวงรีอยู่ระหว่างวงโคจรของดาวพุธถึงวงโคจรดาวพฤหัสบดี

ดาวตก หรือ อุกาบาต หรือผีพุ่งใต้  ดาวตกหรือผีพุ่งใต้ หรือ อุกกาบาต เป็นพวกสะเก็ดดาวของหิน เหล็ก และ นิเกิล เมื่ออยู่ในอวกาศ เรียกว่า ชิ้นอุกกาบาตหรือสะเก็ดดาว แต่ตอนผ่านชั้นบรรยากาศของโลกเกิดการเสียดสีมีแสงสว่างลุกโชติช่วงเป็นแนวสว่างไปในท้องฟ้า เรียกว่า ดาวตกหรือผีพุ่งใต้ ถ้ามีขนาดใหญ่มากเผาไหม้ไม่หมดตกถึงพื้นโลกเรียกว่า ก้อนอุกกาบาต ซึ่งประกอบด้วยส่วนประกอบ 3 ชนิด
1.    แอโรไลทส์ เป็นพวกที่เป็นหิน
2.    ไซเดอไรทส์ เป็นพวกเหล็ก และนิเกิล
3.    ไซเดอไรไรทส์ เป็นพวกหินและโลหะบางชนิด

รูปภาพก้อนอุกกาบาตและหลุมอุกกาบาต

ดาวเคราะห์น้อย เป็นวัตถุจำพวกหินและโหะ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์แต่มีขนาดเล้กเกินกว่าจะเป็นดาวเคราะห์ จึงเรียกว่า ดาวเคราะห์น้อย ดาวเคราะห์น้อยมีขนาดเท่าเม็ดกรวดจนถึงขนาดใหญ่ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางเกือบ 1,000 กิโลเมตร มีประมาณ 3-5 หมื่นดวง ที่มีขนาดใหญ่ที่พบแล้วได้แก่ พาลาส, จูไน, เวสตา, และอีรอส ดาวเคราะห์น้อยส่วนใหญ่โคจรอยู่บริเวณแถบหนึ่งที่อยู่ระหว่างดาวอังคาร กับ ดาวพฤหัสบดี โดยเกาะกันเป็นวงแหวนอยู่

Leave a comment